เส้นคั่น

เส้นคั่น

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

CH03_อาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต


อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)


อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  คือ
1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยี

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ (Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

แบ่งได้ 2 ประเภท
- Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ
คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
-Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้
เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์

รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันทั่วโลก ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้
9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทาคอมพิวเตอร์)
1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5. การฟอกเงิน
6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค  เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
เช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง



อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ

1. การเจาะระบบรักษาความปลอดภัย ทางกายภาพ  ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์และสื่อต่างๆ
2. การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสาร และการ รักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ข้อมูลต่างๆ
3. เป็นการเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัย ของระบบปฏิบัติการ(Operating System)
4. เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการกระทำความผิด


วิเคราะห์คลิปวีดีโอ "จอมโจรในโลกไซเบอร์"


จากคลิป Hacker คือ บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ
คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์ Hacker แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ whitehat Hacker จะเป็นฝ่ายดี ส่วน blackhat Hacker จะเป็นฝ่ายไม่ดี whitehat Hacker คือฝ่ายที่มีจริยธรรม จรรยาบรรณ มองหาความผิดพลาดของระบบ หาช่องโหว่ของระบบ whitehat Hacker จะแจงให้เราดูแลแก้ไขระบบของเราเพื่อปิดช่องโหว่แกการทำลายระบบ ส่วน blackhat Hacker จะทำงานเหมือนกับ whitehat Hacker เลย แต่ขาดอย่างเดียวคือจริยธรรม

***ข้อป้องกัน Hacker จากคลิป***
1.หมั่นอัพเดทระบบปฎิบัติการและโปรแกรมสม่ำเสมอ
2.สแกนโปรแกรมแอนตี้ไวรัสสม่ำเสมอหลังใช้งานทุกครั้ง
3.ติดตั้งไฟร์วอลเพื่อนการโจมตีของ Hacker
4.ระมัดระวังการเล่นอินเทอร์เน็ตมาขี้น
5.ฝึกตัวเองให้เป็นคนรอบคอย
6.ติดตามข่าวสาร วิธีโจมตีใหม่ๆเสมอ


วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

CH02_ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ

ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ


ความมั่นคงปลอดภัย (Security) คือ สถานะที่มีความปลอดภัย ไร้กังวล อยู่ในสถานะที่ไม่มีอันตรายและได้รับการป้องกันจากภัยอันตรายทั้งที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือบังเอิญ ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศย่อมเกิดขึ้นได้โดยมีระบบป้องกันหลายระดับต่างกันไปเพื่อรักษาความปลอดภัยของสารสนเทศไว้

แนวคิดหลักของความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ





กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์  ได้กำหนดแนวคิดหลักของความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ขึ้นประกอบด้วย

1. ความลับ Confidentiality
•       เป็นการรับประกันว่าผู้มีสิทธิ์และได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
•       องค์กรต้องมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงสารสนเทศที่เป็นความลับ เช่น  การจัดประเภทของสารสนเทศ การรักษาความปลอดภัยในกับแหล่งจัดเก็บข้อมูล   กำหนดนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยและนำไปใช้ให้การศึกษาแก่ทีมงานความมั่นคงปลอดภัยและผู้ใช้
•       ภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน  มีสาเหตุมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประกอบกับความต้องการความสะดวกสบายในการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า โดยการยอมให้สารสนเทศส่วนบุคคลแก่ website เพื่อสิทธิ์สนการทำธุรกรรมต่าง ๆ  โดยลืมไปว่าเว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถขโมยสารสนเทศไปได้ไม่ยากนัก

2.ความสมบูรณ์ Integrity
•       ความสมบูรณ์  คือ ความครบถ้วน ถูกต้อง และไม่มีสิ่งแปลกปลอม สารสนเทศที่มีความสมบูรณ์จึงเป็นสารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
•       สารสนเทศจะขาดความสมบูรณ์  ก็ต่อเมื่อสารสนเทศนั้นถูกนำไปเปลี่ยนแปลง ปลอมปนด้วยสารสนเทศอื่น ถูกทำให้เสียหาย ถูกทำลาย หรือถูกกระทำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อขัดขวางการพิสูจน์การเป็นสารสนเทศจริง

3.ความพร้อมใช้ Availability
•        ความพร้อมใช้  หมายถึง  สารสนเทศจะถูกเข้าถึงหรือเรียกใช้งานได้อย่างราบรื่น โดยผู้ใช้หรือระบบอื่นที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
•        หากเป็นผู้ใช้หรือระบบที่ไม่ได้รับอนุญาต การเข้าถึงหรือเรียกใช้งานจะถูกขัดขวางและล้มเหลงในที่สุด

4.ความถูกต้องแม่นยำ Accuracy
•        ความถูกต้องแม่นยำ หมายถึง  สารสนเทศต้องไม่มีความผิดพลาด  และต้องมีค่าตรงกับความคาดหวังของผู้ใช้เสมอ
•        เมื่อใดก็ตามที่สารสนเทศมีค่าผิดเพี้ยนไปจากความคาดหวังของผู้ใช้  ไม่ว่าจะเกิดจากการแก้ไขด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เมื่อนั้นจะถือว่าสารสนเทศ ไม่มีความถูกต้องแม่นยำ

5.เป็นของแท้ Authenticity
•        สารสนเทศที่เป็นของแท้  คือ สารสนเทศที่ถูกจัดทำขึ้นจากแหล่งที่ถูกต้อง  ไม่ถูกทำซ้ำโดยแหล่งอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือแหล่งที่ไม่คุ้นเคยและไม่เคยทราบมาก่อน

6.ความเป็นส่วนตัว Privacy
•        ความเป็นส่วนตัว  คือ สารสนเทศที่ถูกรวบรวม เรียกใช้ และจัดเก็บโดยองค์กร จะต้องถูกใช้ในวัตถุประสงค์ที่ผู้เป็นเข้าของสารสนเทศรับทราบ ณ ขณะที่มีการรวบรวมสารสนเทศนั้น
       มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้านสารสนเทศ


"วิเคราะห์คลิปวีดีโอ"

คลิปที่1 คนขับรถตู้


จากคลิป คนขับรถตู้ จากกรณี อาจจะมีความผิดตรงที่ว่า ขับรถเกิน 140/ชม. โดยมีผู้โดยสารนั่งเต็มคันรถ ซึ่งไม่แปลกถ้าคนขับรถตู้ขับตามระเบียบที่คนขับรถตู้ได้ขับ แต่คนขับรถตู้ขับ 140/ชม. บนทางด่วนที่มีระดับความสูงและอันตรายกว่าถนนปกติมากเป็นสองเท่าจนทำให้ผู้โดยสารเกิดความไม่พอใจและไม่ปลอดภัยในการขับรถตู้คันนี้ จึงได้อัดคลิปวีดีโอนี้มาตีแผ่ให้คนใน social ได้ดูกัน ในขณะที่กำลังดูคลิปได้มีการถกเถียงระหว่างคนขับรถตู้และผู้โดยสารผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งผู้โดยสารหญิงคนหนึ่งไม่เห็นหน้าตาแต่ได้ยินเสียงชัดเจน โดยการถกเถียงก็จะเป็นเรื่องการให้บริการการขับรถของคนขับรถตู้ที่ขับด้วยความเร็ว จนทำให้ผู้โดยสารหญิงคนนี้ทนไม่ไหวจึงอัดคลิปวีดีโอจนกระทบกระทั่งกันไปมาจนดังขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไงก็เป็นหน้าที่ของคนขับรถตู้ที่จะต้องให้บริการผู้โดยสารและจะต้องไปถึงคิวในเวลาที่กำหนดให้ทันเวลาจนทำให้คนขับรถตู้ขับรถเร็วเกินไปจนผู้โดยสารอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ตัวเอง จึงได้อัดคลิปวีดีโอมาเพื่อนตีแผ่ให้คนใน social ได้ดูกัน จนเป็นที่วิภาควิจารณ์กันจนหน้าหู


คลิปที่2 เด็กผู้หญิงนุ่งผ้าขนหนูเข้า 7-11



จากคลิป จะเห็นได้ว่ามีเด็กผู้หญิงประมาณ 4-5 คนกำลังซื้อของอยู่ใน 7-11 ซึ่งไม่แปลกถ้าคนเราจะซื้อของในร้านสะดวกซื้อ แต่ที่น่าแปลกคือในเด็กผู้หญิง 4-5 คนนั้นมีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่แต่งตัวโดยการใส่ผ้าขนหนูสีขาวกำลังเลือกซื้อของอยู่ใน 7-11 กันอย่างสนุกสนานจนไม่สะทกสะท้านอะไรเลย โดยมีเพื่อนของเด็กผู้หญิงที่ใส่ผ้าขนหนูสีขาวได้ถ่ายคลิปไว้ ซึ่งคลิปนี้ที่ไดดูไปส่วนตัวคิดว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นผู้หญิงแต่งตัวแบบนี้มันไม่น่าดูไม่ดีแทนที่คนอื่นๆจะย่องยกแต่คนที่ดูอาจจะเหยียดหยาดจากการกระทำครั้งนี้ของพวกเธอ แค่คิดว่าการถ่ายคลิปเล่นๆสนุกของพวกเอลง social แค่ในกลุ่มของพวกเธอเอง จนเมื่อมีใครมาเห็นและคิดว่าไม่เหมาะสมจึงแชร์กันไปมา จนในที่สุดพวกเธอก็ดังเพียงข้ามคืนการกระทำของพวกเธอที่ยังไม่ทันได้คิดถึงผลที่ตามมา


คลิปที่3 แก๊งสังคมออนไลน์


จากคลิป การที่เราใช้ social ในทางที่ดีเราก็จะได้สิ่งดีๆกลับมาไม่ว่าจะเป็นเพื่อนใหม่ที่พูดคุยกับเราดีๆหรือแม้แต่ญาติพี่น้องที่ไม่เจอมาหลายปีก็ social ทำให้เราใกล้กันมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าคนที่เราคุยนั้นเป็นคนดีหรือไม่ควรพิจารณาให้ดีจากการคุยนั้นเวลานั้นๆ แต่ในการที่รั้งที่เราเอารูปคนอื่น เพลงที่มีค่าลิขสิทธิ์ เข้ามาใส่ใน social ของเราคิดว่าไม่เป็นไรแค่แป๊ปเดียวนิดเดียวเอง แต่เราอาจจะทำให้คนอื่นเดือดร้อนจากการกระทำของเราเพียงไม่กี่นาทีและขาดความคิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน และถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของค่ายนั้นๆ จากการกระทำของเรา เช่น โพส แชร์ หรือดาวน์โหลดเพลงฟรี จึงมีความผิดตามกฎหมายที่มีการระบุว่าด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้เรามีความผิดทั้งที่เรายังไม่รู้ตัวเลย แต่ถ้าเรา social ในทางที่ดีมาเปิดเพจหรือกิจกรรมดีๆ เช่นรับบริจาคหนังสือที่ไม่ใช้แล้ว กระดาษที่ไม่ใช้แล้วเพื่อทำอักษรเบลล์ให้แกคนพิการทางสายตา บริจาคเสื้อชั้นในที่ไม่ใช้แล้วให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ฯลฯ เพื่อให้มีกิจกรรมดีๆและสร้าง social network ให้ดีขึ้นไปสำหรับกิจกรรมทำความดีและแชร์ออกไปเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมทำบุญครั้งนี้ นี่คือข้อดีของ social 





วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

CH01_จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ


 จริยธรรมกับงานคอมพิวเตอร์




จริยธรรม (Ethics) หมายถึง "หลัก ศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย




จริยธรรม (Ethics) หมายถึง "หลัก ศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย
จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์
ความหมายของจริยธรรมคอมพิวเตอร์
 เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิด จริยธรรม เช่น
       1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
       2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
       3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
       4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
       โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
       1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
       2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
       3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
       4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)




 ความหมายของคำว่าจริยธรรม และคุณธรรม
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านการทำงาน เล่นเกม สนทนา ติดธุรกิจ การป้องกันภัย รวมถึงเพื่อความบันเทิงด้วย ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่เสื่อมเสีย และก่อให้เกิดโทษตามมามากมาย เพระผู้ใช้เหล่านั้นยังไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้หากบุคคลผู้ใช้คอมพิวเตอร์ผู้ใดยังไม่มีแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอีกมาก
  
ลักษณะของจริยธรรม และคุณธรรมที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์                  

จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า จรรยาวิชาชีพ” (Code of Conduct) ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์ ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับผลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฎหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฎหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน



บัญญัติ 10 ประการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10.ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพจรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์